แนะนำ 5 วิธีการดูแลสระว่ายน้ำเบื้องต้นด้วยตัวเอง
- Siampool Thailand
- 1 วันที่ผ่านมา
- ยาว 1 นาที

การดูแลสระว่ายน้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะเรื่องระบบกรองน้ำ การไหลเวียนน้ำ และความสะอาด เพราะส่งผลกับความปลอดภัยในด้านการใช้งานเป็นอย่างยิ่ง หากขาดการดูแลสระว่ายน้ำ จะทำให้น้ำเขียวขุ่นไม่น่าใช้ และเกิดเชื้อโรคที่เป็นอาจเป็นอันตรายกับร่างกายผู้ใช้งานสระว่ายน้ำได้ จึงต้องมีการทำความสะอาดสระว่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
แม้หลายคนอาจเลือกใช้บริการช่างผู้เชี่ยวชาญในการดูแลสระว่ายน้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าของสระสามารถทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ เพื่อช่วยให้สระว่ายน้ำสะอาดพร้อมใช้งานและช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ทำความสะอาดผิวน้ำ
ดูแลสระว่ายน้ำด้วยการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ โดยใช้สวิงหรือกระชอนช้อนใบไม้ ตักเศษใบไม้ ฝุ่น แมลง และคราบสกปรกต่าง ๆ ที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำและจมอยู่ใต้น้ำออกให้หมด หากทำทุกวันได้จะดีมาก แต่ถ้าไม่ค่อยมีเวลาทำสัปดาห์ละ 3-4 ครั้งเพื่อลดการสะสมของสิ่งสกปรกก็ได้เช่นกัน
2. การขัดสระว่ายน้ำ
ตัวแปรงขัดสระว่ายน้ำ จะมีให้เลือกทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่
แปรงขัดสระว่ายน้ำแบบพลาสติก ข้อดีคือมีขนแปรงนุ่ม มีราคาถูก และน้ำหนักเบา แต่ข้อเสียคือมีอายุการใช้งานสั้น เหมาะสำหรับการขัดสระไวนิล และไฟเบอร์กลาส
แปรงขัดสระว่ายน้ำแบบสเตนเลส มีขนแปรงแข็ง มีน้ำหนักมากกว่า และราคาสูงกว่าแบบพลาสติก แต่ก็มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเช่นเดียวกัน เหมาะสำหรับการขัดสระคอนกรีต
3. การดูดตะกอนออกจากสระว่ายน้ำ
วิธีการดูดตะกอนและสิ่งสกปรกออกจากพื้นใต้น้ำทำได้ไม่ยาก เพียงประกอบอุปกรณ์เข้าด้วยกัน และดูดตะกอนตามพื้นสระให้ทั่ว ก็ทำให้สิ่งสกปรกใต้พื้นหายไปได้ โดยอาจทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ตามความสะดวก ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีดูแลสระว่ายน้ำที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
4. ชุดทดสอบค่าน้ำ
ชุดทดสอบค่าน้ำ คือ อุปกรณ์ที่วัดค่าความเป็นกรด-ด่าง รวมถึงค่าคลอรีนในสระว่ายน้ำ เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการดูแลสระว่ายน้ำ
วิธีใช้ชุดทดสอบค่าน้ำ
ใส่น้ำในสระลงในหลอดทดสอบ
หยดน้ำยาลงไปประมาณ 4 หยด แล้วเขย่าให้เข้ากัน
วัดผลของสีน้ำที่ได้โดยเทียบกับกับสเกลข้างกระบอก
ค่ามาตรฐานของการทดสอบค่าน้ำ
ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 7.2 - 7.6
ค่าคลอรีน (CL) ควรอยู่ระหว่าง 1.0 - 3.0 ppm
อัลคาไลนิตี้ (TA) ควรอยู่ระหว่าง 80 - 120 ppm
ความกระด้าง (Calcium Hardness) ควรอยู่ระหว่าง 200 - 400 ppm
5. ปิดและคลุมสระเมื่อไม่ใช้งาน
การติดตั้งที่คลุมสระ และปิดเมื่อไม่ใช้งานแล้ว เป็นอีกหนึ่งวิธีดูแลสระว่ายน้ำง่าย ๆ ที่จะช่วยป้องกันสิ่งสกปรก เศษใบไม้ และฝุ่นละออง ลดการใช้สารเคมีปรับสภาพสระน้ำ เพิ่มความคงที่ของอุณหภูมิ และลดการระเหยของน้ำได้อย่างดี
ส่วนอีกวิธีสำคัญในการดูแลสระว่ายน้ำคือการเติมเคมีภัณฑ์ เช่น กรดเกลือ, โซดาแอช, คลอรีน, น้ำยากำจัดตะไคร่น้ำ สำหรับใช้ปรับค่า pH กำจัดเชื้อโรค และสิ่งสกปรกภายในน้ำ ซึ่งการเติมสารเคมีเหล่านี้ต้องใช้ช่างสระว่ายน้ำที่มีความเชี่ยวชาญ และใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ จึงไม่แนะนำให้ทำด้วยตัวเอง เพื่อความปลอดภัย และหากต้องการผู้เชี่ยวชาญในการดูแลสระว่ายน้ำ มาช่วยดูแลเรื่องสารเคมี และการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ สามารถปรึกษากับทาง Siampool บริการสระว่ายน้ำครบวงจร ได้เลย