การสร้างสระว่ายน้ำในบ้านหรือโครงการต่าง ๆ นอกจากการออกแบบและสร้างสระว่ายน้ำแล้ว ยังต้องผ่านขั้นตอนที่สำคัญคือการขออนุญาตก่อสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านหรือผู้ที่มีโครงการควรทราบก่อนดำเนินการ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย บทความนี้ ทาง Siampool บริษัทรับทำสระว่ายน้ำ จะพาคุณไปทำความรู้จักกับข้อควรรู้ในการขออนุญาตสร้างสระว่ายน้ำ ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการดำเนินการ และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสระว่ายน้ำ
การสร้างสระว่ายน้ำต้องขอใบอนุญาตก่อสร้าง
การสร้างสระว่ายที่มีความจุ 100 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป จำเป็นจะต้องขออนุญาตก่อสร้างก่อนตามกฎหมายอาคาร ต้องไปขอใบอนุญาตก่อสร้างจากสำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่ที่ตั้งสระและจะมีเจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อให้แน่ใจว่าตรงตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับหรือเปล่า โดยส่วนใหญ่การขอใบอนุญาตในการก่อสร้างจะใช้เวลาประมาณ 30 - 90 วัน ในการพิจารณาและอนุมัติ
ขั้นตอนการขออนุญาตสร้างสระว่ายน้ำ
การศึกษาและเตรียมข้อมูล ในขั้นตอนแรก คุณต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็นสำหรับการสร้างสระว่ายน้ำ ได้แก่
แปลนและแบบสระว่ายน้ำที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น วิศวกรหรือสถาปนิก
เอกสารยืนยันสิทธิ์ในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดินหรือสัญญาเช่า เพื่อแสดงว่าคุณมีสิทธิ์และกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าว
เอกสารแสดงความยินยอมจากเพื่อนบ้าน หากการสร้างสระว่ายน้ำอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง
ฟอร์มขออนุญาตก่อสร้างที่ต้องยื่นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การวางแผนและออกแบบ การวางแผนเริ่มต้นด้วยการกำหนดจุดประสงค์ในการสร้างสระว่ายน้ำให้ชัดเจน เช่น สร้างเพื่อครอบครัว โรงแรม รีสอร์ต หรือธุรกิจฟิตเนส เมื่อทราบจุดประสงค์แล้ว คุณสามารถเลือกประเภทสระที่เหมาะสม เช่น สระว่ายน้ำเด็ก สระมาตรฐาน หรือสระน้ำแร่ ซึ่งจะส่งผลต่อการออกแบบในขั้นต่อไป เช่น การสำรวจพื้นที่ การเลือกวัสดุ และการพิจารณาความปลอดภัย ควรส่งแบบแปลนเพื่อขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น วิศวกรหรือสถาปนิก เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานที่ถูกต้อง
การยื่นคำขอ หลังเตรียมเอกสารแล้ว ควรตรวจสอบหน่วยงานที่ต้องยื่นคำขอให้ถูกต้องตามพื้นที่ พร้อมตรวจสอบค่าธรรมเนียมที่อาจเกิดขึ้น หลังยื่นคำขอเสร็จสิ้น ให้ติดตามผลการพิจารณาซึ่งโดยทั่วไปอาจใช้เวลาประมาณ 30-60 วัน ขึ้นอยู่กับหน่วยงานและความซับซ้อนของงาน
การตรวจสอบและอนุมัติ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบเอกสารและแบบแปลน หากทุกอย่างถูกต้อง คุณจะได้รับการอนุมัติและออกใบอนุญาตก่อสร้าง
เข้าสู่การก่อสร้าง เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ควรตรวจสอบรายละเอียดในใบอนุญาตให้ตรงกับที่ยื่นขอ หากทุกอย่างถูกต้อง สามารถเริ่มก่อสร้างได้ทันที หากต้องการเปลี่ยนแปลงแบบในระหว่างการก่อสร้าง อาจต้องยื่นขออนุญาตเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ความลึกของสระว่ายน้ำตามกฏหมาย
ในประเทศไทย ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับความลึกของสระว่ายน้ำที่ใช้ในกฎหมายทั่วไป แต่จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ต้องปฏิบัติตาม โดยสระว่ายน้ำต้องมีการออกแบบและก่อสร้างให้ปลอดภัยและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น สระที่มีความลึกมากจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น บันได และ มีป้ายบอกระดับความลึก
สระว่ายน้ำส่วนตัว ความลึกขั้นต่ำควรอยู่ที่ประมาณ 1.2 เมตร ถึง 1.5 เมตร เพื่อให้สามารถว่ายน้ำได้อย่างปลอดภัย หากมีการใช้งานสำหรับเด็ก ควรมีพื้นที่ส่วนที่ตื้นกว่า (ประมาณ 0.6 - 1.0 เมตร) เพื่อความปลอดภัย
สระว่ายน้ำสาธารณะ ความลึกขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 1.5 เมตร โดยทั่วไปจะมีส่วนที่ตื้นกว่า (เช่น 1.0 เมตร) สำหรับผู้ที่ไม่สามารถว่ายน้ำได้
สระว่ายน้ำเด็ก ควรมีความลึกประมาณ 0.6 เมตร ถึง 0.8 เมตร เพื่อความปลอดภัย
ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตและกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างสระว่ายน้ำ
1. การขอใบอนุญาตก่อสร้าง
หากสระว่ายน้ำมีความจุ 100 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อสร้างตามกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการโดยไม่มีใบอนุญาตอาจส่งผลให้ถูกปรับหรือสั่งหยุดการก่อสร้าง
2. มาตรฐานการก่อสร้างและความปลอดภัย
การออกแบบและการก่อสร้างสระว่ายน้ำต้องดำเนินการโดยวิศวกรหรือสถาปนิกที่ได้รับอนุญาต เพื่อให้สระว่ายน้ำมีความปลอดภัยสูงสุด การติดตั้งระบบกรองน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด รวมถึงการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับกฎหมายท้องถิ่น เช่น ระยะห่างจากอาคารหรือเขตที่ดินใกล้เคียง
3. การปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม
การสร้างสระว่ายน้ำต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดน้ำที่ใช้ในสระก่อนปล่อยลงสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ และลดผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียงระหว่างการก่อสร้าง
4. ข้อกำหนดท้องถิ่น
ข้อกำหนดการก่อสร้างสระว่ายน้ำอาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ควรตรวจสอบกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมระดับเสียง การจำกัดขนาดและความลึกของสระ หรือการใช้น้ำในพื้นที่แห้งแล้ง
5. ใบอนุญาตประกอบกิจการและมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับธุรกิจการค้า
หากสระว่ายน้ำถูกสร้างเพื่อธุรกิจการค้า ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ รวมถึงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เช่น มาตรฐานความสะอาดของน้ำ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และปริมาณคลอรีน ควรมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาสระอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ
6. การรายงานและการตรวจสอบ
หน่วยงานท้องถิ่นอาจเข้ามาตรวจสอบการก่อสร้างเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด หากพบว่ามีความผิดพลาดหรือไม่เป็นไปตามกฎ เจ้าหน้าที่อาจสั่งแก้ไขทันที หรือสั่งหยุดดำเนินการ ทั้งนี้ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง
การสร้างสระว่ายน้ำในประเทศไทยต้องมีการขออนุญาตตามกฎหมายและปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยและการจัดการที่เหมาะสม หากใครกำลังสนใจสร้างสระว่ายน้ำสามารถปรึกษาทาง Siampool รับสร้างสระว่ายน้ำเชียงใหม่ และ ทั่วประเทศไทย เราเป็นผู้ให้บริการสระว่ายน้ำแบบครบวงจร ให้บริโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านสระว่ายน้ำ
Kommentare