top of page

SIAMPOOL THAILAND

BLOG & UPDATE

ประเภทของสระว่ายน้ำหลักๆ ที่ต้องรู้ก่อนเริ่มทำสระว่ายน้ำ

อัปเดตเมื่อ 27 มี.ค.


ประเภทของสระว่ายน้ำ

ในการจะสร้างสระว่ายน้ำ ควรทำความรู้จักกลับประเภทของสระว่ายน้ำก่อน เพื่อให้สามารถเลือกสระว่ายน้ำได้ตรงตามความต้องการใช้งาน ซึ่งสระว่ายน้ำมีหลายประเภท โดยสามารถแบ่งได้หลายแบบตามเกณฑ์ที่ใช้ มาดูกันว่าสระว่ายน้ำมีกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีรายละเอียดอย่างไร เพื่อให้การทำสระว่ายน้ำตรงความต้องการมากที่สุด


ประเภทของสระว่ายน้ำตามการก่อสร้าง

1. สระว่ายน้ำคอนกรีต 

เป็นสระว่ายน้ำที่มีโครงสร้างของพื้นและผนังทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงแข็งแรงและทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน ทั้งยังออกแบบรูปทรงของสระว่ายน้ำได้ตามต้องการ รวมไปถึงสามารถใช้กระเบื้องหรือวัสดุตกแต่งอื่นเพื่อให้สระมีความสวยงามมากขึ้น แต่มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและทำความสะอาดสูงกว่าสระว่ายน้ำสำเร็จรูป


2. สระว่ายน้ำสำเร็จรูป

 สระว่ายน้ำซึ่งถูกประกอบไว้ล่วงหน้าจากโรงงานผู้ผลิต จากนั้นจึงขนส่งไปยังสถานที่ติดตั้งเป็นชิ้นเดียวหรือหลายส่วน สระว่ายน้ำสำเร็จรูปมักเป็นสระไฟเบอร์กลาส จะมีเฉพาะรูปทรงและขนาดมาตรฐาน เมื่อทำสระว่ายน้ำเสร็จและใช้งาน จะพบว่าอัตราการเติบโตของสาหร่ายน้อยกว่า ทำให้ค่าดูแลรักษาต่ำ

ประเภทสระว่ายน้ำ

ข้อดี

ข้อเสีย

สระคอนกรีต

  • ออกแบบขนาดและรูปทรงได้ตามต้องการ

  • แข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน

  • สามารถเลือกวัสดุตกแต่งได้หลากหลาย เช่น กระเบื้อง หินธรรมชาติ

  • ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งค่าก่อสร้างและค่าบำรุงรักษา

  • ใช้เวลาก่อสร้างนาน (ประมาณ 2-3 เดือน)

  • มีโอกาสเกิดรอยแตกร้าวและน้ำรั่วซึม ต้องซ่อมแซมเป็นระยะ

สระสำเร็จรูป

  • ติดตั้งได้รวดเร็ว (ภายในไม่กี่วัน)

  • ราคาถูกกว่าสระคอนกรีต

  • ดูแลรักษาง่าย ค่าซ่อมบำรุงต่ำ

  • มีขนาดและรูปทรงจำกัด (เลือกได้เฉพาะแบบที่ผู้ผลิตมี)

  • อายุการใช้งานสั้นกว่าสระคอนกรีต

  • โครงสร้างอาจเสียหายง่ายหากติดตั้งไม่ดี หรือพื้นดินทรุดตัว

ประเภทของสระว่ายน้ำแบ่งตามระบบหมุนเวียนของน้ำในสระ

1. ระบบน้ำล้น (Overflow System)

เป็นระบบหมุนเวียนน้ำที่ใช้ได้กับสระทุกขนาด แต่ต้องพิจารณาขนาดพื้นที่ในการทำสระว่ายน้ำให้ถี่ถ้วน เพราะนอกจากขนาดของสระน้ำแล้ว ต้องมีพื้นที่สำหรับอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบอีกด้วย การไหลเวียนน้ำของระบบน้ำล้นจะเป็นการเติมน้ำสะอาดจากพื้นสระ เพื่อดันสิ่งสกปรกให้ล้นขอบสระลงสู่รางน้ำรอบสระ โดยน้ำจะถูกนำไปบำบัดและถูกเติมกลับเข้ามาทางพื้นสระเช่นเดิม


2. ระบบสกิมเมอร์ (Skimmer)

เป็นระบบหมุนเวียนน้ำที่เหมาะสำหรับสระขนาดเล็ก โดยน้ำบริเวณผิวสระจะถูกดูดผ่านช่องสกิมเมอร์ และเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำ ก่อนถูกส่งเข้าสระน้ำผ่านช่องจ่ายน้ำซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม 

ระบบหมุนเวียนน้ำ

ข้อดี

ข้อเสีย

ระบบน้ำล้น (Overflow System)

  • ดูสวยงาม หรูหรา

  • การไหลเวียนของน้ำดี สะอาดทั่วทั้งสระ

  • เหมาะกับสระทุกขนาด โดยเฉพาะสระขนาดใหญ่

  • ใช้งบประมาณสูง ทั้งค่าก่อสร้างและค่าระบบ

  • ต้องมีพื้นที่เพิ่มสำหรับรางน้ำและบ่อพักน้ำ

  • ดูแลรักษายุ่งยากกว่าระบบสกิมเมอร์

ระบบสกิมเมอร์ (Skimmer System)

  • ติดตั้งง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าระบบน้ำล้น

  • ไม่ต้องใช้พื้นที่สำหรับรางน้ำและบ่อพักน้ำ

  • เหมาะกับสระขนาดเล็กและพื้นที่จำกัด

  • ระบบกรองน้ำอาจไม่ทั่วถึง น้ำอาจไม่ใสเท่าระบบน้ำล้น

  • ผิวน้ำมีโอกาสเกิดเศษใบไม้หรือฝุ่นสะสมมากกว่า

  • ไม่ค่อยเหมาะกับสระขนาดใหญ่


ประเภทของสระว่ายน้ำแบ่งตามระบบบำบัดน้ำ

1. ระบบบำบัดน้ำด้วยคลอรีน

เป็นระบบบำบัดน้ำที่นิยมใช้กันแพร่หลาย เนื่องด้วยมีค่าใช้จ่ายถูกและฆ่าเชื้อในน้ำได้ดี แต่อาจทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง รวมถึงถ้าควบคุมค่าคลอรีนในสระน้ำไม่เหมาะสม อาจส่งผลต่อร่างกายได้ เช่น แสบร้อน เป็นผื่น และตาแดง


2. ระบบบำบัดน้ำด้วยเกลือ

เป็นระบบบำบัดน้ำที่เปลี่ยนเกลือให้เป็นคลอรีนตามธรรมชาติโดยใช้เครื่องซอลต์เจนเนอเรเตอร์ (Salt Generator) น้ำจึงสะอาดและใสทั้งที่มีการใช้คลอรีนในปริมาณน้อย น้ำในสระจะปลอดภัยต่อผู้ใช้งานไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือผื่นแพ้แต่สระว่ายน้ำแบบน้ำเกลือมักเกิดตะไคร่น้ำตามพื้นและผนังได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนจัดหรือมีฝนตก 


3. ระบบบำบัดน้ำด้วยน้ำแร่ 

เป็นระบบบำบัดน้ำซึ่งใช้เกลือหิมาลัย PURASALTS อันอุดมไปด้วยแร่ธาตุ 84 ชนิดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในน้ำโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีอย่างคลอรีน สระว่ายน้ำระบบน้ำแร่จะมีแร่ธาตุในสระช่วยลดความเครียด กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย ปลอดภัยต่อผู้ที่ผิวหนังบอบบางและแพ้ง่าย ช่วยบำรุงและฟื้นฟูผิวพรรณ ทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น


4. ระบบบำบัดน้ำด้วยโอโซน

เป็นระบบบำบัดน้ำที่ทำการแปลงออกซิเจน (O2) ให้เป็นโอโซน (O3) โดยการปล่อยประจุไฟฟ้า จากนั้นเติมก๊าซโอโซนความเข้มข้นต่ำลงสู่สระน้ำเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ โอโซนเป็นก๊าซในธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง ไม่เป็นพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน ปลอดภัยสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคผิวหนัง

ระบบบำบัดน้ำ

ข้อดี

ข้อเสีย

ระบบคลอรีน

  • ฆ่าเชื้อโรคได้ดีและรวดเร็ว

  • ค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเทียบกับระบบอื่น

  • หาซื้อสารเคมีได้ง่าย

  • อาจระคายเคืองผิวหนังและตา

  • ต้องควบคุมปริมาณคลอรีนอย่างเหมาะสม

  • มีกลิ่นคลอรีนและอาจทำให้สีชุดว่ายน้ำซีด

ระบบเกลือ

  • ปลอดภัยต่อผิวและดวงตา

  • ใช้คลอรีนในปริมาณน้อย ลดความระคายเคือง

  • น้ำในสระใสและสะอาดตามธรรมชาติ

  • มีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำสูง โดยเฉพาะในอากาศร้อน

  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบคลอรีน

  • ต้องใช้เครื่องผลิตคลอรีนจากเกลือ (Salt Generator)

ระบบน้ำแร่

  • อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ดีต่อสุขภาพ

  • ลดความเครียด และช่วยบำรุงผิวพรรณ

  • ปลอดภัยต่อคนที่แพ้ง่าย

  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบเกลือและคลอรีน

  • ต้องเปลี่ยนเกลือแร่เป็นระยะเพื่อคงคุณสมบัติของน้ำ

ระบบโอโซน

  • ฆ่าเชื้อโรคได้ดีและไม่มีสารตกค้าง

  • ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง

  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • ต้องติดตั้งเครื่องผลิตโอโซน

  • ระบบมีต้นทุนสูงกว่าระบบอื่น

  • อาจต้องใช้ระบบบำบัดเสริม เช่น คลอรีน หรือเกลือ


ประเภทของสระว่ายน้ำแบ่งตามลักษณะที่ตั้งของสระว่ายน้ำ

1. สระกลางแจ้ง 

คือสระว่ายน้ำนอกอาคาร ไม่มีหลังคาคลุม ค่าใช้จ่ายในการทำสระว่ายน้ำจึงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสระในร่ม จะได้รับประโยชน์จากแสงธรรมชาติซึ่งจะทำให้น้ำในสระดูใสน่าเล่น แต่ในสระจะเกิดตะไคร่และสาหร่ายได้ง่าย สระว่ายน้ำกลางแจ้งเมื่อโดนแดดหรือฝนจะทำให้ค่าคลอรีนเปลี่ยนไป จึงต้องมีการดูแลมากกว่า  


2. สระในร่ม 

คือสระว่ายน้ำในอาคารซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการทำสระว่ายน้ำมากกว่าสระกลางแจ้ง เพราะต้องวางระบบป้องกันน้ำรั่วซึมและระบบปรับอากาศ แต่คุณภาพของน้ำจะคงที่มากกว่าสระกลางแจ้ง เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยธรรมชาติ เช่น แสงแดด หรือฝนตก

ประเภทสระว่ายน้ำ

ข้อดี

ข้อเสีย

สระกลางแจ้ง

  • ค่าใช้จ่ายในการสร้างต่ำกว่าสระในร่ม

  • ได้รับแสงธรรมชาติ ทำให้น้ำในสระใสน่าเล่น

  • ไม่ต้องติดตั้งระบบปรับอากาศ

  • มีโอกาสเกิดตะไคร่และสาหร่ายได้ง่าย

  • การเปลี่ยนแปลงของอากาศ (แดดหรือฝน) อาจทำให้ค่าคลอรีนในน้ำเปลี่ยนไป

  • ต้องการการดูแลรักษามากกว่าสระในร่ม

สระในร่ม

  • คุณภาพน้ำคงที่ไม่ถูกกระทบจากอากาศภายนอก

  • การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสะดวกกว่า

  • ลดปัญหาตะไคร่และสาหร่าย

  • ค่าใช้จ่ายในการสร้างสูงกว่า

  • ต้องติดตั้งระบบป้องกันน้ำรั่วซึมและระบบปรับอากาศ

  • ไม่ได้รับแสงแดดโดยตรง ทำให้ต้องดูแลรักษาระบบการหมุนเวียนน้ำดีๆ

เมื่อได้รู้ประเภทของสระว่ายน้ำตามลักษณะการแบ่งต่างๆ แล้วจะช่วยให้สามารถเลือกสร้างสระว่ายน้ำได้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น หากใครกำลังสนใจอยากสร้างสระว่ายน้ำ สามารถปรึกษากับทาง Siampool บริการสร้างสระว่ายน้ำ ออกแบบสระว่ายน้ำแบบครบจงจร รับสร้างสระว่ายน้ำเชียงใหม่

 
 
bottom of page